Anocha (Mai) Bunrassamee
Branding and Communication Designer
As a former political science student, I spent most of my valuable lifetime observing, conceptualizing and questioning the connection between humanity and society. Although I was born in the north, I grew up in various provinces throughout the kingdom of Thailand, witnessing the differences of the metropolitan and the countryside. Recognizing that the line dividing between the two consists of “opportunity” and “inequality”, I began to question the injustice within our society.
All through 4 years in the university, I dove deep into political, economic, and societal issues, both domestically and internationally, alongside other political science students. Hence, I discovered that the fundamental variables of the relation, movement, and revolution of global organizations underlying the societies worldwide are “narration or datasets’ ‘ that influenced the imagery for the societies in each era. Simultaneously, I acknowledged that the higher the barrier to access data, the greater the force that pushes some people away from justice.
In the role of Project Assistant, I am mainly responsible for supporting, monitoring, and collaborating projects that aim to use innovations and advanced approaches in solving the problem of injustice. Furthermore, we strive to use the power of communication to bridge justice and various groups of people in the society and urge them to become aware and begin to question the social structure underlying the considerable problems of injustice. Essentially, our ultimate goal is to empower the society to be able to create changes, beginning from its foundation, to tackle the injustice from its core.
อดีตเด็กรัฐศาสตร์ ผู้ค้นพบว่าเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตถูกใช้เพื่อเฝ้ามอง ครุ่นคิดและตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมอยู่เสมอ เกิดในดินแดนล้านนา แต่เติบโตตามระยะทางตั้งแต่เหนือจรดใต้ของไทย ภาพความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทโดยมีคำว่า ‘โอกาส’ และ ‘ความไม่เท่าเทียม’ เป็นเส้นแบ่ง คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดคำถามกับ ‘ความไม่ยุติธรรม’ ในสังคม
ตลอดระยะเวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับเด็กรัฐศาสตร์อีกหลายคน ที่มักพาตัวเองดำดิ่งไปกับประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทั้งในและต่างประเทศ จนค้นพบว่าตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างการเปลี่ยนแปลงและยึดโยงหน่วยต่าง ๆ ภายใต้สังคมทั่วโลกคือ ‘เรื่องเล่าหรือชุดข้อมูล’ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปั้นแต่งหน้าตาของสังคมในแต่ละยุคสมัย ในขณะเดียวกันก็ตระหนักว่ายิ่งกำแพงในการเข้าถึงข้อมูลสูงเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการผลักให้คนบางกลุ่มไกลห่างจากความยุติธรรมมากเท่านั้น
ในฐานะ Project Assistant ประจำสำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสนับสนุน ติดตามและสื่อสารการดำเนินงานของโครงการที่มุ่งผลักดันให้เกิดการใช้นวัตกรรมและวิธีการรูปแบบใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านความยุติธรรม จึงพยายามจะใช้พลังในการสื่อสารข้อมูลผ่านรูปแบบต่างๆ เป็นสะพานเชื่อมความยุติธรรมกับคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม ตลอดจนคาดหวังให้สังคมเกิดความตระหนักรู้และตั้งคำถามต่อโครงสร้างที่ครอบงำและหล่อเลี้ยงปัญหาความไม่ยุติธรรม เพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับรากฐาน