Yak Data Road Accident
ร่วมสร้างสังคมแห่งการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน

  • โครงการ Yak Data Accident มีเป้าหมายในการสร้างสังคมแห่งการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  • โดยใช้กลไกการรวบรวมฐานข้อมูลอุบัติเหตุ (Big data) แปรรูปให้อยู่ในลักษณะข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data) และนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligenc) เพื่อสร้างระบบค้นหาพื้นที่จุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนนำข้อมูลที่ค้นพบกลับไปสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหากับชุมชนอย่างเป็นระบบ

ที่มาและความสำคัญ (Problem & Concept)

จากรายงาน GLOBAL STATUS REPORT ON ROAD SAFETY 2018 ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน ซึ่งตามข้อมูลอ้างอิงจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่เป็นหลักในการทำผิดกฎจราจร อาทิ การขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด การดื่มแล้วขับ การขับรถกระชั้นชิด เป็นต้น จำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้คือการสูญเสียบุคคลสำคัญของหลายครอบครัว ในขณะเดียวกันได้ส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนประเทศในระดับภาพใหญ่ 

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) Changefusion และ Opendream เล็งเห็นความสำคัญว่าหากสามารถนำข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนนมาผ่านการวิเคราะห์และการจัดการ จะทำให้เกิดข้อมูลที่มีประโยชน์ จนสามารถนำข้อมูลไปแก้ปัญหาในชุมชนได้ โครงการ Yak Data Road Accident) จึงเกิดขึ้นเพื่อรวบรวมฐานข้อมูลอุบัติเหตุจากหน่วยงานหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และแปรรูปให้อยู่ในลักษณะข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data) จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สร้างระบบค้นหาจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ผ่านกลไกการเก็บรวบรวมข้อมูล (Big Data)  และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) เพื่อนำข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้กลับไปทำงานร่วมกับชุมชนในการลดอุบัติเหตุ โดยใช้ยักษ์เป็นสัญลักษณ์แสดงพื้นที่จุดเสี่ยงที่มีปัญหาต่างๆ

Project Snapshots

เป้าหมาย:
ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data)

ประเภท (Category/Type of project):
Data Intelligence for Justice

ระยะเวลา:
2019ปัจจุบัน

สถานะ: 

ผู้ร่วมดำเนินงาน:

  • สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)
  • ChangeFusion
  • Opendream
เป้าหมายโครงการ
  1. ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data)
  2. การนำข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data) มาแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยความร่วมมือของชุมชนเอง รวมทั้งสามารถบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ วางแผนเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแสดงภาพรวมพื้นที่จุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในลักษณะของแผนที่
  2. เพื่อสร้างช่องทางการเข้าถึงข้อมูลจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ Google My Maps และ LINE chatbot เป็นต้น
  3. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่ของตนเอง
  4. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์วางแผน ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
  1. ประชาชนทั่วไปผู้ใช้รถใช้ถนนในการเดินทาง
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคส่วนต่างๆ ที่มีเป้าหมายหรือภารกิจในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน

แนวคิดหลักในการดำเนินงาน

  1. ใช้แนวคิด Child-centered-approach ผ่านการประเมินตัวเด็กเพื่อออกแบบกิจกรรมและให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมให้กับตัวเด็ก ร่วมกับแนวคิด Good lives model ซึ่งเป็นรูปแบบในการฟื้นฟู (Rehabilitation) ที่นำความต้องการ ความถนัด ความปราถนา จุดแข็งของบุคคลมากำหนดเป็นแผนชีวิต พร้อมทั้งให้การสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อเติมเต็มการใช้ชีวิตในอนาคตที่สอดคล้องกับตัวตน
  2. การสร้าง Local project manager เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกพื้นที่ รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ค้นหาช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน และการขยายผลรูปแบบการทำงานไปยังพื้นที่อื่น ๆ

แนวทางการดำเนินงานของ YAK Data Accident แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้

  1. วิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลอุบัติเหตุถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยอ้างอิงพิกัดของจุดที่เกิดอุบัติเหตุเทียบกับขอบเขตการปกครองเช่น ตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อค้นหาจุดอุบัติเหตุในแต่ละพื้นที่

  1. คืนข้อมูลสู่ประชาชน
    1. นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์คืนสู่ประชาชนผ่าน 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่
      • Yak data website (www.yakdata.org)
      • Yak data chatbot ใน Line application (@yakdata)
    2. ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการ 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
      • ค้นยักษ์ : เพื่อวางแผนก่อนเดินทางดูจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย
      • พบยักษ์ : แจ้งข้อมูลเมื่อพบอุบัติเหตุหรือถนนอันตราย
      • หลบยักษ์ : แสดงข้อมูลจุดพักระหว่างทางเพื่อลดอุบัติเหตุ
  2. การจัดกระบวนการในพื้นที่เพื่อลดอุบัติเหตุ
    1. เลือกพื้นที่จุดเสี่ยง: เลือกพื้นที่ที่มีจุดการเกิดอุบัติเหตุซ้ำกันบ่อยครั้ง และเลือกชุมชนในพื้นที่ที่สามารถสร้างกระบวนการแก้ไขอุบัติเหตุได้
    2. ลงพื้นที่: ยืนยันจุดเสี่ยงโดยคนในพื้นที่ สำรวจลักษณะกายภาพทั่วไป และเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย
    3. แนวทางแก้ไข: สำรวจหาแนวความคิดวิธีการลดอุบัติเหตุจากคนในชุมชน เจ้าหน้าที่และพนักงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาแนวทางที่เป็นไปได้ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุร่วมกับชุมชน
Visit Site

ภาพตัวอย่างการใช้บริการ Yak Data Chatbot ในแอปพลิเคชัน LINE

ภาพตัวอย่างการใช้บริการ Yak Data Mymaps ในแพลตฟอร์ม Google My Maps

ภาพตัวอย่างการใช้บริการบน Yak data website (www.yakdata.org)

ยักษ์ สัญลักษณ์ของพลังร้าย ณ ที่นี้เป็นพลังจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในกรุงเทพฯ

ภาพรวมของจุดที่เกิดอุบัติเหตุ และ 10 จุดที่น่าสนใจน่าศึกษาหาทางลดอุบัติเหตุ

จุดแสดงข้อมูลของอุบัติเหตุ และผู้ใช้สามารถร่วมให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้

Share this article: