White Space Platform
เพิ่มพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในวันนี้ เพื่อลดโอกาสการเกิดอาชญากรรมในวันหน้า

  • โครงการ White Space Platform มุ่งเน้นสร้างพื้นที่สีขาวให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงก้าวเข้ามาเรียนรู้ เปิดมุมมอง พัฒนาศักยภาพและค้นหาความสนใจของตนเอง ผ่านกิจกรรมที่ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Childen center approach เชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมขยายพื้นที่การเรียนรู้ พร้อมด้วยระบบติดตามและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง 
  • เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนค้นพบความถนัดและเป้าหมายในการดำเนินชีวิต หวังลดช่องว่างและป้องกันการเกิดอาชญากรรมในอนาคต

ที่มาและความสำคัญ (Problem & Concept)

เด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยแก่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งถูกทับซ้อนด้วยวงจรปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม เศรษฐกิจและอาชญากรรม ประกอบกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือยังไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะการขาดกลไกการประสานงานเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 

โครงการ White Space Platform จึงมีเป้าหมายในการสร้างรูปแบบการทำงาน (Model) ของระบบกลไกการเชื่อมต่อกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางโดยปัจจุบันโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการทดลองรูปแบบการทำงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับกลุ่มรักษ์บางบาล เพื่อเก็บข้อมูล ถอดบทเรียนและพัฒนาให้เป็นกลไกต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ จนสามารถนำไปเผยแพร่ ขยายต่อยอดในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย

Project Snapshots

เป้าหมาย:
สร้างพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรมในเด็กและเยาวชน

ประเภท (Category/Type of project):
Human-centered Rehabilitation & Growth Model

ระยะเวลา:
เมษายน 2020ปัจจุบัน

สถานะ: 
การพัฒนาและทดสอบรูปแบบการทำงานในพื้นที่นำร่อง

ผู้ร่วมดำเนินงาน:

  • สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)
  • สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด
  • ChangeFusion
เป้าหมายโครงการ
  1. สร้างรูปแบบการทำงาน กระบวนการ หรือองค์ความรู้ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
  2. เด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการของโครงการสามารถค้นพบความชอบหรือความถนัดของตนเอง มีพฤติกรรม ทัศนคติ และมุมมองในการใช้ชีวิตในเชิงบวก อีกทั้งลดโอกาสในการก่ออาชญากรรมในอนาคต
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนมีพื้นที่ในการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และค้นหาความสนใจของตนเอง ผ่านการเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเพิ่มทักษะสำหรับการประกอบอาชีพ
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาไปกับความสนใจของตัวเองหรือการเรียนรู้เพื่อเป้าหมายในอนาคตและเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการก่ออาชญากรรมโดยเด็กและเยาวชน
  3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาเด็กและเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย
  1. เด็กและเยาวชนที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ได้แก่
    1. เด็กและเยาวชนในบ้านพักเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    2. เด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบางอยู่ในความเสี่ยงหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่
  2. เด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ได้แก่ เด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดและถูกดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งในชั้นก่อนฟ้องคดีและชั้นหลังฟ้องคดี

แนวคิดหลักในการดำเนินงาน

  1. การสร้างสังคมแห่งการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุร่วมกับชุมชนด้วยข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

แนวทางการดำเนินงานของ White Space Platform

ดำเนินการร่วมกับภาคีในพื้นที่ (Local Project Manager) ทีมสหวิชาชีพ องค์กรเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำการประเมินความต้องการของเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อออกแบบกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจรายบุคคล รวมถึงดำเนินการติดตาม ประเมินผล โดยปัจจุบันกลุ่มรักษ์บางบาลเป็น Local Project Manager ให้กับโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตัวอย่างการร่วมกิจกรรมของกลุ่มรักษ์บางบาล

Share this article: