ที่มาและความสำคัญ

จากการศึกษาสถานการณ์จํานวนผู้กระทําผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน (เด็ก: อายุระหว่าง 10 – 15 ปี, เยาวชน: อายุระหว่าง 15 – 18 ปี) โดยอาศัยข้อมูลสถิติของกรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า ในปีพ.ศ.2563 มีจํานวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดําเนินคดีโดยสถานพินิจ ฯ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 33,121 คดี เด็กส่วนใหญ่ที่กระทําผิดอยู่ในช่วงอายุ 6 – 18 ปี ซึ่งถือเป็นวัยศึกษาเล่าเรียน

ในแต่ละปี เด็กและเยาวชนไทยเดินเข้าสู่ระบบการศึกษาประมาณ 1 ล้านคน ในทางตรงข้าม มีเด็กถูกให้ออกจากโรงเรียนประมาณ 1 แสนคน นับเป็นจํานวนร้อยละ 10 และเมื่อลองนํามาเปรียบเทียบกับตัวเลขเยาวชนที่ก่ออาชญากรรม พบว่า ในแต่ละปีเด็กกลุ่มนี้มีจํานวนกว่า ร้อยละ 66.81 คือเด็กกลุ่มที่ถูกให้ออกจากโรงเรียน แสดงถึงปัญหาของเด็กที่ออกมาจากระบบ

สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เด็กและเยาวชนขาดทักษะชีวิตที่จําเป็นในการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงจะทําให้กระทําความผิด เช่น ทักษะการคิดวิเคระห์และแก้ปัญหา การรับมือกับความเครียด ความกดดัน และการสูญเสีย รวมถึงการควบคุมอารมณ์ เมื่อขาดทักษะเหล่านั้น เด็กและเยาวชนจึงกลายเป็นผู้ก่ออาชญากรรม ทั้งที่เป็นการกระทําผิด ครังแรก และมีแนวโน้มจะกระทําผิดซ้ำอีก หากยังคงไม่ได้รับการฝึกทักษะชีวิตดังกล่าว

เกมออกไปข้างในจึงถูกออกแบบมาเพื่อให้ความรู้และฝึกให้เยาวชน มีทักษะที่จําเป็นในการพาตนเองออกจากสถานการณ์ที่เอื้อต่อการกระทําผิด โดยหวังว่ากิจกรรม การเล่นเกมนี้ อย่างสมําเสมอ จะสามารถสร้างความเข้มแข็งภายใน มองเห็นผลกระทบที่จะตามมา และรู้วิธีรับมือกับความเสี่ยง ขจัดสาเหตุหนึ่งของการกระทําผิดได้ และส่งผลต่อเนื่องในการช่วยป้องกันอาชญากรรมที่ก่อโดยเด็กและเยาวชน อันเป็นหนึ่งในภารกิจของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

Purpose

เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการสื่อสารความรู้สึกและความคิดของตนกับบุคคลใกล้ชิด รู้จักการประเมินตนเอง และรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น อันเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันอาชญากรรมที่ก่อโดยเด็กและเยาวชน และสามารถนำเกมออกไปข้างในไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือเด็กและเยาวชนอายุ 10 – 14 ปี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Who is this for 

ผู้ที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ครู, ผู้นำกลุ่มเยาวชน, นักจิตวิทยา,นักสังคมสงเคราะห์, เจ้าหน้าที่ของสถานพินิจ หรือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ฯลฯ ที่กำลังมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับทำงานกับเด็กและเยาวชนของตนเองในเรื่องการรู้ทันอารมณ์ ความคิด และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มาร่วมอบรมออนไลน์สื่อการสอนทักษะชีวิต เกม “ออกไปข้างใน” ด้วยกัน

ผลงานที่ผ่านมา

  • จัดการอบรมร่วมกับกรมพินิจ ผู้เข้าร่วมเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นักจิต จำนวน 70 คน
  • จัดอบรมให้ผู้ที่สนใจ onsite 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมเป็นใคร กี่คน
  • ยกตัวอย่างผู้เข้าร่วมที่นำลงไปใช้จริงในสถานที่ทำงาน กับเด็กกลุ่มไหนบ้าง 

Partners

  • สำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) 
  • กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม 
  • บริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด 
  • บริษัท อาชีฟ โซเชียล เอ็นเทอไพรส์ จำกัด

Download

Board Game [PDF – 23 Mb]

Share this article: